บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติปกป้องและรักษาคุณภาพของสินค้าให้พร้อมใช้ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์อาหารจะต้องคงกลิ่นรสและรูปลักษณ์ให้อยู่ในสภาพเหมือนก่อนบรรจุภายในระยะเวลาที่กำหนด เมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา จึงต้องใช้ถุงบรรจุที่สามารระบายก๊าซได้ จึงเป็นที่มาของนวัตกรรม “ถุงกาแฟมีวาล์ว” (One Way Valve)
ถุงกาแฟมีวาล์ว
ถุงกาแฟมีวาล์ว หรือที่เรียกเป็นชื่อเทคนิคเต็มว่า “One Way Degassing Valve for coffee bag” มีคุณสมบัติระบายก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ซึ่งถูกคายออกมาจากเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่ว หากบรรจุในถุงที่ปิดผนึกทั่วไปก็จะทำให้ถุงเกิดการบวมแตกได้ และนอกจากนั้นวาล์วทางเดียวยังป้องกันไม่ให้มีอากาศจากภายนอกไหลเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจจะทำปฏิกริยากับเมล็ดกาแฟส่งผลให้กลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป
ถุงกาแฟมีวาล์ว จึงเหมาะที่จะใช้บรรจุเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่ว ซึ่งจะช่วยรักษากลิ่นรสของกาแฟเอาไว้ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม เราควรที่จะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตด้วยมาตรฐานระดับ Food Grade เพื่อที่จะมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของเมล็ดกาแฟที่บรรจุอยู่ภายใน
ข้อมูลวิชาการเรื่อง “การบรรจุกาแฟ”
เม็ดกาแฟได้มาจากต้นไม้ในตระกูล Coffea ซึ่งมีสปีชีส์ที่สําคัญได้แก่ C. arabica และ C. Robusta ซึ่งนํามากระเทาะ เปลือก ผ่านกระบวนการเตรียม การคั่ว (roasting) การบด (grinding) และการต้ม (brewing) ได้เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟในกระบวนการคั่วนั้นเป็นการให้ความร้อนเม็ดกาแฟอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงถึง 180 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทําให้เกิดกลิ่นรสและสารระเหยต่างๆ รวมถึงการปลดปล่อยของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรต รวมถึงการเกิดปฏิกิริยาทาง เคมีจากปฏิกิริยาเมลลาร์ดซึ่งส่งผลต่อการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึนนั้นส่วนหนึ่งจะถูกดูดซับไว้ที่เม็ดกาแฟเอง ซึ่งพบว่าเมื่อนําเม็ดกาแฟไปบด โดยเฉพาะการบดละเอียดจะทําให้เกิดการปลดปล่อยของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก จากเม็ดกาแฟเพิ่มมากขึ้น
การเสื่อมเสียของกาแฟผงหรือกาแฟเม็ดที่ผ่านการคั่วแล้วมักพบเกิดจากการเกาะตัวเป็นก้อนเนื่องจากความชื้นการ สูญญเสียกลิ่นรส นอกจากความชืนแล้วยังพบว่าปริมาณแก๊สออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ยังเป็นปัจจัยสําคัญที่สอดคล้องกับการ เสื่อมเสียของกาแฟซึ่งทําให้อายุการเก็บรักษาของสินค้าสั้นลง ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุบรรจุที่ต้านทานการซึมผ่านของความชื้นและ ออกซิเจนได้ดีจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาสินค้ารวมถึงการบรรจุในสภาพสุญญากาศ หรือการอัดแก๊สไนโตรเจน โดยวัสดุบรรจุที่นิยมใช้มักเป็นวัสดุประเภทที่มีการลามิเนตด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์หรือฟิล์มอาบไอโลหะ (metalized film) เช่น BOPP/OPET/Aluminium/ LDPE, PA/OPET/Aluminium/ LDPE, PET/Aluminium/ LDPE
การเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ภายหลังการบรรจุและปิดผนึกทําให้เกิดการพองตัวของภาชนะบรรจุประเภทอ่อนตัวจนอาจ ถึงขั้นเกิดความเสียหายได้ซึ่งมีแนวทางการป้องกันได้ดังนี ้
- การใช้วัสดุบรรจุคงรูปที่ต้านทานแรงดันของแก๊สจากภายใน
- การใช้วัสดุบรรจุที่มีสภาพให้ซึมผ่านของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงหรือการใช้วาล์วเปิดด้านเดียว (one-way valve)
- การบรรจุภายในสภาพสุญญากาศ ซึ่งเมื่อมีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจะทําให้เกิดการพองตัว
- การกําหนดช่องว่างเหนืออาหาร (headspace) ให้มีขนาดใหญ่พียงพอ
- การปล่อยให้เม็ดกาแฟปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกในปริมาณเพียงพอ ก่อนทําการบรรจุและปิดผนึก
- การใช้ซองบรรจุวัตถุดซับคาร์บอนไดออกไซด์ู(CO2 absorber sachet) กาแฟสําเร็จรูปนิยมบรรจุในขวดแก้วที่มีการปิดผนึกด้วยกระดาษลามิเนตหรือแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์เพื่อป้องกันการซึม
ผานเข้า-ออกของแก๊สและไอน้ำนอกจากนีงมีการพัฒนากาแฟบรรจุไว้ในกระดาษกรอง (filter paper) บรรจุในซองอะลูมิเนียมฟอยล์ซึ่งป้องกันการซึมผ่านได้ดีสําหรับอํานวยความสะดวกในการใช้งานแต่ละครั้งรวมถึงการบรรจุในแคปซูลที่ใช้กับเครื่องชงซึ่งจะมีการเคลือบอะลูมิเนียมอยู่ด้านในแคปซูลดังกล่าว รวมถึงมีการอัดแก๊สไนโตรเจน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
เอกสารอ้างอิง
- ณัฐดนัย หาญการสุจริต.(2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบรรจุในอุตสาหกรรมอาหาร. ภาควิชาเทคโนโลยีการ บรรจุและวัสดุ,คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
- Robertson, G. L. (2013). Food packaging: principles and practice. CRC press.
ดาวน์โหลดบทความเรื่อง “การบรรจุกาแฟ” จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (.pdf)
- Share: